เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ถอดรหัสวาทกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน By สฤณี อาชวานันทกุล
  • รีวิวเว้ย (1494) การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development) หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ SDGs หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ทุกหน่วยงานภาครัฐของไทยให้ความสนใจอันเนื่องมาจากการถูกกำหนดเป็น "ตัวชี้วัด" และเป็นค่าเป้าหมายในการประเมินการทำงานของหน่วยงานภาครัฐในแต่ละปี เป้าหมายของ SDGs กลายมาเป็นเป้าหมายการพัฒนาของรัฐและกลายมาเป็นคำติดปากของคนในชาติอย่างทั่งถึงในช่วงเวลาหนึ่ง (เหมือนคำว่า soft power ในปัจจุบัน) ความน่าแปลกใจของไทย คือ การพยายามขับเคลื่อนเป้าหมายของ SDGs นับเป็นความพยายามของการพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืน แต่หลายปีผ่านไปไม่แน่ใจว่าความหมายของคำว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืน" ของรัฐไทยดูจะต่างออกไปจากความเข้าใจในสากลโลก
    หนังสือ : ถอดรหัสวาทกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน บนทางแพร่งสู่เศรษฐกิจประชาธิปไตย
    โดย : สฤณี อาชวานันทกุล
    จำนวน : 107 หน้า
    .
    "ถอดรหัสวาทกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน บนทางแพร่งสู่เศรษฐกิจประชาธิปไตย" หนังสือที่ต่อยอดมาจากบทปาฐกถาขององค์ปาถกในโอกาสของงาน ปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 ที่ว่าด้วยเรื่องของการนำเสนอข้อมูลที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาตามกรอบ SDGs ของสังคมไทยว่าในช่วงเวลาที่รัฐไทยลงมือขับเคลื่อนสังคมตามเป้าประสงค์ของตัวชี้วัดว่ามันดำเนินการไปเช่นไรตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "ถอดรหัสวาทกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน บนทางแพร่งสู่เศรษฐกิจประชาธิปไตย" แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
    .
    ส่วนที่ 1 สฤณี อาชวานันทกุล ผสานศาสตร์ ประส่นศิลป์บนเส้นทางแห่งความยั่งยืน โดย รพิพัฒน์ อิงคสิทธิ์
    .
    ส่วนที่ 2 ถอดรหัสวาทกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน บนทางแพร่งสู่เศรษฐกิจประชาธิปไตย โดย สฤณี อาชวานันทกุล
    .
    "ถอดรหัสวาทกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน บนทางแพร่งสู่เศรษฐกิจประชาธิปไตย" บอกเล่าที่มาที่ไปของความสนใจขององค์ปาถก และได้ชี้ให้เห็นถึงที่มาที่ไปและคำถามสำคัญในการขับเคลื่อนแนวคิดเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยรัฐไทย ว่าแท้จริงแล้วการพัฒนาตามกรอบหรือตามแนวทางดังกล่าวของรัฐไทยเป็นเช่นไร เราควรเรียกสิ่งที่ดำเนินไปนั้นว่าการพัฒนา หรืออาจจะเรียกมันได้แค่ในฐานะของ "วาทกรรมการพัฒนา (ที่ยั่งยืน)" แต่เพียงเท่านั้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in