Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ By ก่อการครู
รีวิวเว้ย (1393) เราผู้เกิดและเติบโตมากับระบบการศึกษาในโรงเรียนไทย เริ่มตั้งแต่โรงเรียนวัด พัฒนาสู่โรงเรียนประจำอำเภอ โรงเรียนประจำจังหวัดและก้าวเข้าสู่มหาวิทยาลัยของรัฐในกาลต่อมา ในฐานะของผู้เรียนเราเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งอยู่เสมอ นั่นคือความรู้สึกของการเป็น "หนูทดลอง" ของระบบการศึกษา โดยเฉพาะระบบการศึกษาในโรงเรียนและระบบการสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หากมองย้อนกลับไปเราจะพบว่าตัวเราเองแทบจะเป็นวัตถุศึกษาของการทดลองบางประการอยู่ตลอดเวลา อย่างหลักคิดเรื่องของ
Active Learning เองก็เช่นเดียวกัน ที่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ตอนนั่งอยู่ในห้องเรียนเราเริ่มได้ยินคำนี้ผุดพรายและพรั่งพรู ออกมาจากปากของครูในโรงเรียนตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการไปจนถึงครูที่เดินเข้ามาในห้องเรียน และบอกให้นักเรียนไปอ่านหนังสือและพูดคุยแลกเปลี่ยนกันเองโดยครูสำทับทิ้งท้ายไว้ว่า "มันเป็นกระบวนการ
Active Learning" แล้วเดินออกจากห้องไปอย่างไม่มีวันกลับ หลายปีที่แนวคิดเรื่อง
Active Learning ก่อร่างสร้างฐานะขึ้นมาในระบบการศึกษาแบบไทย จนเราไม่แน่ใจว่า
Active Learning ในความหมายของสากลโลก และความหมายของระบบการศึกษาแบบไทยโลก มันเป็น
Active Learning เดียวกันรึเปล่านะ เพราะคำหลาย ๆ คำที่ถูกนำมาใช้โดยรัฐไทบเรามักจะได้เห็นความผิดฝาผิดตัวของความหมายไปไกลมาก อย่าง Soft Power ที่กำลังดำเนินไปในปัจจุบัน (2566) แน่นอนว่าก่อน Soft Power เรามี
Active Learning มาก่อน และก่อน
Active Learning ก็มีอีกหลาย ๆ คำที่ถูกทำให้กลายเป็นไทยมาแล้วไม่น้อย
หนังสือ :
Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ
โดย :
ปวีณา แช่มช้อย,
อัครา เมธาสุข,
อธิษฐาย์ คงทรัพย์,
กัญณัฐ กองรอด และ
ศราวุธ จอมนำ
จำนวน : 147 หน้า
.
ในปัจจุบันคำว่า Active Learning คงถูกใช้ไปในทางที่ถูกที่ควร (แล้วมั้ง) ในระบบการศึกษาของโรงเรียนไทย และถ้าให้ลองคิดไว ๆ บนโจทย์คำถามที่ว่า "ถ้าอยากเข้าใจ Active Learning แบบไว ๆ ไม่ยุ่งยากจะทพเช่นไร" ถ้าเป็นเมื่อก่อนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในภาษาไทย ถูกหยิบมาแปลและวางจำหน่ายอยู่หลายปก ซึ่งแน่นอนว่ามันหนา หนักและหลาบกครั้งก็ยากต่อการทำความเข้าใจ เพราะขาดการยึดโยงกับบริบทของการศึกษาแบบไทย ๆ ทำให้เมื่อหลายคนเปิดอ่านก็ชักไม่แน่ใจว่าที่เราเข้าใจมาจากระบบการศึกษาแบบไทยนั้นผิด หรือหนังสือที่เขาแปลจากต่างชาติมาขายมันผิดกันนะ
.
ถ้าวันนี้มีใครถามคำถามเดิม เกี่ยวกับการอยากทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าว สำหรับเราแล้วหนังสือ "
Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ" สามารถทำหน้าที่ในการตอบโจทย์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นบนฐานของการทำเรื่องของ Active Learning เป็นมิตรกับผู้อ่านและง่ายต่อการทำความเข้าใจ เพราะตัวเล่ม
"
Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ" ถูกออกแบบให้ เล็ก ง่าย เข้าใจได้ กระชับ และมีตัวอย่างของกิจกรรมและกรณีศึกษาที่ชัดเจน สำหรับการช่วยให้ผู้อ่านสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และสร้างบทสนทนาต่อยอดในเรื่องของ Active Learning ได้อย่างเข้าใจแบบไม่ยากเข็ญ
.
สำหรับเนื้อหาของ
"
Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ" แบ่งออกเป็น 7 บทขนาดกระชับ ที่บอกเล่าเรื่องของ Active Learning อย่างเป็นระบบ โดยเริ่มต้นที่ความหมาย กรณีศึกษา ข้อสังเกต และความท้าทาย โดยเนื้อหาแบ่งเป็นดังนี้
.
บทที่ 1 ก้าวเดินร่วมของครูและนักเรียน ที่มาและจุดมุ่งหมายของ Active Learning -- ปวีณา แช่มช้อย
.
บทที่ 2 กะเทาะเปลือกจนเจอแก่น หลักการเบื้องหลังของ
Active Learning -- ปวีณา แช่มช้อย
.
บทที่ 3 ธรรมชาติของการเรียนรู้ ความสอดคล้องของ
Active Learning กับการทำงานของสมอง -- อัครา เมธาสุข
.
บทที่ 4 ครูคือนักออกแบบ การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ -- อธิษฐาย์ คงทรัพย์, อัครา เมธาสุข
.
บทที่ 5 ครูคือกระบวนกร ทักษะและวมรรถนะของครูผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้แบบ
Active Learning -- อธิษฐาน์ คงทรัพย์
.
บทที่ 6 สะกิด เกา เล่าความจริง การประเมินผลในการจัดการเรียนรู้แบบ
Active Learning -- อัครา เมธาสุข
.
บทที่ 7 ชุมชนนักสร้างการเรียนรู้ กรณีศึกษา ส่งต่อแรงบันดาลใจ สร้างห้องเรียนเปี่ยมความหมายด้วย
Active Learning -- กัญณัฐ กองรอด
.
บทที่ 8 ระวัง ! หลุมพราง ความท้าทายในการจัดการเรียนรู้แบบ
Active Learning -- อธิษฐาน์ คงทรัพย์
.
บทที่ 9
Active หรือยัง ? การตรวจสอบตนเองกับ
Active Learning -- ศราวุธ จอมนำ
.
หากหมุดหมายของ "
Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ" คือการสร้างความเข้าใจ ความรับรู้ ในเรื่องของ
"
Active Learning" เนื้อหาที่ปรากฏในแต่ละบทของหนังสือทำได้อย่างดี และอีกสิ่งหนึ่งที่
"
Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ" ทำหน้าที่ได้อย่างดีคือการ "ชุบชูใจ" ให้กับนักจัดการศึกษาที่ต้องอาศัย Active Learning ในกระบวนการการจัดการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน เรียกได้ว่า
"
Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ" ช่วยลบภาพศาลาคนเศร้าในระบบการศึกษาในหัวข้อ
"
Active Learning" ออกไปได้เป็นอย่างดี
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in