Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
ขุนนางกรมท่าขวา By จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์
รีวิวเว้ย (1363) วิชาประวัติศาสตร์ในโรงเรียนไทยมีการกล่าวถึง "กรมท่าซ้าย" และ "กรมท่าขวา" ในสมัยอยุธยาต่อมาจนรัตนโกสินทร์เอาไว้เพียงสั้น ๆ โดยมีใจความว่า "กรมท่า" นับเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการประสายประโยชน์ด้านการค้ากับต่างชาติอและพ่วงมาด้วยอีกหน้นที่หนึ่งอย่างการควบคุมดูแลคนในบังคับของต่างชาติที่เข้ามาในอยุธยา และเราอาจจะได้ท่องชื่อของ "
พระยาโชฎึกราชเศรษฐี" และ "
พระยาจุลาราชมนตรี" ที่เป็นหัวเรือในการควบคุมดูแลกรมท่าซ้ายและกรมท่าขวาตามลำดับ นอกนั้นเราแทบไม่รู้ถึงความสำคัญของหน่วยทั้ง 2 นี้อีกเลยในแบบเรียนไทย ทั้งที่หน่วยงานทั้ง 2 นี้ นับได้ว่าเป็นหนึ่งในตัวแบบของระบบการบริหารจัดการของอาณาจักรในช่วงเวลานั้น ๆ หากเทียบแบบหยาบ ๆ คงเทียบได้กับระบบราชการ ที่มีหน้าที่ในการติดต่อการกิจที่สำคัญในอาณาจักรกับชนต่างชาติ เมื่อเรามองภาพแทนของกรมท่าทั้งซ้ายและขวา ในฐานะของระบบราชการทำให้เกิดคำถามสำคัญตามมาว่า ณ ช่วงเวลานั้นระบบการบริหารจัดการของแต่ละหน่วยเป็นอย่างไรและมีความสำคัญอย่างไร
หนังสือ :
ขุนนางกรมท่าขวา การศึกษาบทบาทและหน้าที่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2153-2435
โดย :
จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์
จำนวน :
391
หน้า
.
"
ขุนนางกรมท่าขวา การศึกษาบทบาทและหน้าที่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2153-2435
" ผลงานที่เรียบเรียงจากวิทยานิพนธ์เรื่อง "บทบาทและหน้าที่ของขุนนางกรมท่าขวาในสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2153-2435)" ที่ทำหน้าที่ในการขยายความในเรื่องของ "กรมท่าขวา" นับตั้งแต่สมัยอยุธยากระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการปฏิรูปแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่บทบาทของหน่วยงานอย่างกรมท่ามีความสำคัญยิ่งกับการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ ซึ่งการทำความเข้าใจในเรื่องราวของกรมท่าขวา จะช่วยให้เราเห็นภาพปฏิสัมพันธ์ ความสำคัญและระบบการดำเนินงานในครั้งอดีตก่อนการเกิดขึ้นของสยาม
.
สำหรับเนื้อหาของ
"
ขุนนางกรมท่าขวา การศึกษาบทบาทและหน้าที่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2153-2435
" ผู้เขียนได้แบ่งการนำเสนอออกเป็นช่วงเวลาต่าง ๆ ของกรมท่าขวา โดยแบ่งเอาไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ซึ่งในแต่ละช่วงเวลานั้นผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ความสัมพันธ์ ของขุนนางในกรมท่าขวา ที่ในกาลต่อมาบทบาทของกรมท่าขวาและขุนนางในกรมท่าขวาได้มีพลวัตรความเปลี่ยนแปลงทั้งจากการขยายตัวของการค้าและการเข้ามาของชนต่างชาติต่างภาษา โดยเนื้อหาของ
"
ขุนนางกรมท่าขวา การศึกษาบทบาทและหน้าที่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2153-2435
" แบ่งเป็นดังนี้
.
บทนำ
.
บทที่ 1 การค้า และการควบคุมชาวต่างชาติจากภูมิภาคฝั่งตะวันตกของสยาม
.
บทที่ 2 ขุนนางกรมท่าขวา
.
บทที่ 3 ขุนนางกรมท่าขวาในสมัยอยุธยา (พ.ศ. 2513-2310 หรือ ค.ศ. 1610-1767)
.
บทที่ 4 ขุนนางกรมท่าขวาในสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2311-2435 หรือ ค.ศ. 1768-1892)
.
บทสรุป
.
ในส่วนของบทสรุปของ
"
ขุนนางกรมท่าขวา การศึกษาบทบาทและหน้าที่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2153-2435
" ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจในเรื่องของขุนนางกรมท่าขวาเอาไว้ว่า
"...การบริหารราชการในกรมท่าขวาสะท้อนถึงลักษณะของระบบราชาการสยามก่อนการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ให้ความสำคัญต่อความสามารถและบริบทเฉพาะของตัวบุคคลในการบริหารกิจกรรมที่เกิดขึ้น มากกว่าการคำนึงถึงลักษณะ โครงสร้างการบริหารของหน่วยงาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือวิธีการบริหารราชการของสยามก่อนการปฏิรูประบบราชการก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ขึ้นอยู่กับแนวนโยบายของผู้ปกครองในการใช้บุคคลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารราชการแผ่นดิน..." ซึ่งเมื่อพิจารณาในเรื่องของบทบาทของขุนนางกรมท่าขวาให้ดี ๆ เราจะพบว่าการให้ความสำคัญในการดำเนินนโยบายของผู้ปกครองในช่วงเวลานั้นเป็นไปในทิศทางใด แน่นอนว่าหากมีการศึกษาในเรื่องของ "ขุนนางกรมท่าซ้าย" โดยการเทียบเคียงช่วงเวลากันด้วยแล้วเราอาจจะได้เห็นถึงจุดบ่งชี้อะไรบางอย่างที่ผูกโยงอาณาจักรเข้ากับความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ผ่านขุนนางและกรมท่า
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in