Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ By ศิวพล ชมภูพันธุ์
รีวิวเว้ย (1353) คำถามอย่าง "อาวุธนิวเคลียร์ของอังกฤษจำนวน 500 ลูก มิได้เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐอเมริกาเท่ากับการที่เกาหลีเหนือครอบรองนิวเคลียร์จำนวน 5 ลูก" (น. 165) หรือกระทั่งเหตุแห่งการบุประเทศอีรักของาหรัฐอเมริกา จากการที่มีข่าวว่าประเทศดังกล่าวถือครองหัวรบนิวเคลียร์กระทั่งนำไปสู่เหตุแห่งสงครามในตะวันออกกลางหลัง ค.ศ. 2000 สิ่งเหล่านี้ไม่ง่ายที่จะหาคำตอบของคำถามเหล่านั้นว่า ทำไม อย่างไรและเพราะอะไร โดยเฉพาะเมื่อเรามองเหตุการณ์หนึ่ง ๆ จากมุมมองเพียงมุมมองเดียวเราอาจจะได้คำตอบแบบหนึ่ง หากแต่เมื่อเราเอาเหตุการณ์เดียวกันแต่มองด้วยมุมมองที่แตกต่างเราอาจจะได้เห็นคำตอบของคำถามและทางออกของปัญหาที่แตกต่างกันไป มุมมองดังที่ได้กล่าวถึงนั้นเมื่อเรียกชื่อมันในทางวิชาการ เราอาจจะแทนมุมมองเหล่านั้นได้ด้วยคำว่า "ทฤษฎี" แน่นอนว่าทฤษฎีเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการศึกษา ทำความเข้าใจและแสวงหาคำตอบบางประการณ์ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งในทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สิ่งสำคัญที่เราต้องไม่ลืมคือรากฐานของการเป็น "เครื่องมือ" ของทฤษฎีเหล่านั้น เมื่อเราให้ภาพแทนว่า "ทฤษฎี คือ เครื่องมือ" เช่นนั้นมันยอมมีมากกว่า 1 เครื่องมือเสมอ เพราะถ้าเราลองมองในมุมเปรียบเทียบเราเคยเห็นบ้านหลังไหนบ้างที่สร้างขึ้นมาจากไขควงเพียงชิ้นเดียว หากมองในมุมนี้การประกอบสร้างองค์ความรู้ผ่านทฤษฎีก็คงมีสถานะไม่ต่างกัน
หนังสือ : ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎี และกรณีศึกษาในโลกร่วมสมัย
โดย : ศิวพล ชมภูพันธุ์
จำนวน : 226 หน้า
.
"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎี และกรณีศึกษาในโลกร่วมสมัย" ตำราทางวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่เกิดขึ้นจาก
"โครงการผลิตตำราจากเอกสารการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ที่มุมเน้นการบอกเล่าและส่งต่อองค์ความรู้ในเรื่องของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
.
โดยที่เนื้อหาของ
"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎี และกรณีศึกษาในโลกร่วมสมัย" อยู่ในรูปแบบของการเขียนตำราทางวิชาการ ซึ่งรูปแบบของการเขียนตำรานั้นจะมีความชัดเจนในหัวข้อที่นำเสนอในแต่ละส่วน/บท และในแต่ละส่วน/บท จะมีการขมวดปมเพื่อเป็นการสรุปภาพรวมของสิ่งที่ถูกบรรยายขยายความเอาไว้ในแต่ละส่วน/บท อย่างชัดเจน ซึ่งเนื้อหาของ
"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎี และกรณีศึกษาในโลกร่วมสมัย" นำเสนอเรื่องของ "ทฤษฎี" ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่เป็นพื้นฐานและเป็นทฤษฎีที่มีการใช้งานอยู่เนื่อง ๆ ในวงวิชาการ อันได้แก่
(1) สัจนิยม
(Realism),
(2) เสรีนิยม
(Liberalism),
(3) สำนักอังกฤษ (
English School
), (4) ประกอบสร้าง
(Constructivism)
และ (5) มาร์กซ์ (
Marxism
) ที่วิธีการในการเล่าเรื่องของ
"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎี และกรณีศึกษาในโลกร่วมสมัย" คือการพาผู้อ่านไปทำความเข้าในพัฒนาการ การเกิดขึ้นของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแต่ละแบบ บอกเล่าถึงที่มา ความสำคัญ และการหยิบใช้ในการอ่านปรากฏการณ์ทางสังคมต่าง ๆ ผ่านวิธีการของทฤษฎีแต่ละแบบ แต่ละสำนัก
.
ซึ่งเนื้อหาของ
"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎี และกรณีศึกษาในโลกร่วมสมัย" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
.
บทที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: บทนำทางทฤษฎีและวิธีการศึกษา
.
บทที่ 2 พัฒนาการแนวคิดด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
.
บทที่ 3 สัจนิยมกับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
.
บทที่ 4 เสรีนิยม
กับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
.
บทที่ 5 สำนักอังกฤษ
กับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
.
บทที่ 6 ทฤษฎีประกอบสร้าง
กับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
.
บทที่ 7 มาร์กซ์
กับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
.
คำส่งท้าย
.
เมื่ออ่าน
"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎี และกรณีศึกษาในโลกร่วมสมัย" และหากเราย้อนกลับไปมองข้อคำถามในหน้าที่ 165 ที่ถามเกีายวกับเรื่องการถือครองอาวุธนิวเคลียร์เอาไว้ว่า
"อาวุธนิวเคลียร์ของอังกฤษจำนวน 500 ลูก มิได้เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐอเมริกาเท่ากับการที่เกาหลีเหนือครอบรองนิวเคลียร์จำนวน 5 ลูก" คำตอบที่เราจะใช้ในการตอนคำถามข้อดังกล่าวอาจจะมีแตกต่างหลากหลายกันออกไป หากเรานำเอาทฤษฎีต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ใน
"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎี และกรณีศึกษาในโลกร่วมสมัย" มาลองใช้ในการตอบคำถาม แต่แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่จะปรากฏอยู่ในคำตอบไม่ว่าจะมองจากมุมมองหรือทฤษฎีใดก็ตาม เราจะพบว่าไม่ว่าจะมองจากด้านไหน หรือมุมใดเพื่อหาคำตอบและหาทางออกจากคำถามข้อนี้นั้น สิ่งที่จะติดตามไปเสมอ ๆ คือเรื่องของ "ความท้าทาย" ในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือกระทั่งระหว่างรัฐต่อกลุ่มรัฐ (ทั้งแบบกลุ่มทางการ/และไม่ทางการ) และ
"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎี และกรณีศึกษาในโลกร่วมสมัย" ได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่าเพราะมี "ความท้าทาย" เกิดขึ้นตลอดเวลา วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงต้องมีพัฒนาการและพลวัตที่เติบโต ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับความท้าทายต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างไม่หยุดนิ่ง
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in